วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



ที่มา:https://goo.gl/nPfWuz

                   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้

1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางตรง ซึ่งปฏิบัติได้ในระดับบุคคล องค์กร และระดับประเทศ ที่สำคัญ คือ

ที่มา:https://goo.gl/6qzWOB

1)  การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
2)  การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
3)  การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
4)  การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ      สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
5)  การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
6)  การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่ง
ปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า เป็นต้น


2.  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทางอ้อม สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้



ที่มา:https://goo.gl/269PwY

1)  การพัฒนาคุณภาพประชาชน โดนสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องตามหลักวิชา ซึ่งสามารถทำได้ทุกระดับอายุ ทั้งในระบบโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ และนอกระบบโรงเรียนผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการอนุรักษ์ เกิดความรักความหวงแหน และให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง
2)  การใช้มาตรการทางสังคมและกฎหมาย การจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน ชมรม สมาคม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ตลอดจนการให้ความร่วมมือทั้งทางด้านพลังกาย พลังใจ พลังความคิด ด้วยจิตสำนึกในความมีคุณค่าของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่มีต่อตัวเรา เช่น กลุ่มชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร มูลนิธิโลกสีเขียว เป็นต้น
3)  ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ช่วยกันดูแลรักษาให้คงสภาพเดิม ไม่ให้เกิดความเสื่อมโทรม เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิตในท้องถิ่นของตน การประสานงานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนัก

ที่มา:https://goo.gl/h7zDpN

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ

                

                
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และธรรมชาติ


 

ที่มา:https://goo.gl/TXdyFQ


           เมื่อพิจารณาในระบบย่อยลงมาจากจักรวาล ก็สามารถมองเห็นอย่างประจักษ์ชัดว่าสรรพสิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันในระบบองค์รวม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในท่ามกลางความหลากหลาย สรรพสิ่งต่าง ๆ ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน โดยมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มิใช่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ตามที่เคยคิดและเข้าใจกันมาแต่ก่อน มนุษย์จึงต้องทำตัวให้เป็นส่วนหนึ่งของโลกธรรมชาติมนุษย์ในปัจจุบันนอกจากจะทำตัวแปลกแยกไปจากธรรมชาติแล้ว ยังเป็นตัวการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างมากมาย สิ่งแวดล้อมที่สำคัญของมนุษย์มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ (ประเวศ วะสี 2519 :114) ได้แก่

1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุ ดิน น้ำ อากาศร้อน อากาศหนาว ทะเลทราย ภูเขา ป่าไม้ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น

2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ สัตว์ เชื้อโรค สิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ดังตัวอย่าง เช่น ต้นตะบองเพชรขึ้นในทะเลทราย เชื้อมาเลเรียมีในเขตร้อน ไม่มีในเขตหนาว เป็นต้น

3) สิ่งแวดล้อมทางสังคม เป็นสิ่งแดล้อมที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น ประชากร เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง การศึกษา วัฒนธรรม และเทคโนโลยี เป็นต้น
 

ที่มา:http://goo.gl/GUOZbz

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประโยชน์จากธรรมชาติ

 

ประโยชน์จากธรรมชาติ



               ทรัพยากรธรรมชาติ  คือสิ่งที่เกิดมีขึ้นมาเองตามธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเป็นดิน  น้ำ  ป่าไม้  ภูเขา ตลอดจนแร่ธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นดิน ทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น เราควรเรียนรู้ ทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของทรัพยากรที่มีต่อเรา เพื่อที่จะได้เห็นคุณค่าและเกิด        ความหวงแหนตามมา  ซึ่งทรัพยากรแต่ละชนิดมีประโยชน์ดังนี้


ที่มา:https://goo.gl/k64kMi

     1.  ดิน ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่แต่ละท้องถิ่นมีเหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันในด้านคุณภาพ ซึ่งบางท้องถิ่นอาจเป็นดินทราย บางท้องถิ่นอาจเป็นดินเหนียว การใช้ประโยชน์จึงคำนึงถึงความเหมาะสมของดินแต่ละแห่งด้วยดินมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคน  สัตว์  และพืชเพราะเป็นแหล่งเพาะปลูก  ซึ่งทำให้เกิดผลผลิตทางอาหารแก่คนและสัตว์ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์บางชนิด เราจึงควรเห็นคุณและประโยชน์ของดิน


ที่มา:https://goo.gl/EzBheG

    2.    น้ำ  น้ำก็เช่นเดียวกันแต่ละท้องถิ่นมีเหมือนกัน  แต่อาจมีมากน้อยต่างกันไป  เช่น  ภาคอีสานกับภาคใต้จะมีปริมาณน้ำที่ไม่เหมือนกัน และคุณภาพของน้ำอาจมีความแตกต่างกันด้วย น้ำ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร และการทำอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้เป็นแหล่งพลังงานผลิตกระแสไฟฟ้า เราควรใช้น้ำอย่างรู้ค่า  เห็นคุณ


ที่มา:https://goo.gl/cCjEqP

3.   อากาศ เป็นสิ่งที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง หากไม่มีอากาศสิ่งมีชีวิตคงอยู่ไม่ได้ แต่อากาศจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับธรรมชาติด้วย คนเรามีส่วนทำให้ธรรมชาติเสียสมดุลไป อากาศจึงเปลี่ยนแปลงไป อากาศมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตต่างๆ  ต้องการอากาศในการหายใจ ถ้าขาดอากาศแม้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตตายได้  ดังนั้นเราควรรักษาธรรมชาติเพื่อให้อากาศดีมีคุณค่าต่อเราต่อไป


ที่มา:https://goo.gl/Fw927Y

  4.     ป่าไม้ มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตมากมาย เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่างๆ เป็นแหล่งผลิตอาหาร สมุนไพร เป็นแหล่งผลิตไม้ ซึ่งคนนำมาใช้ทำสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ นอกจากนี้ป่าไม้ยังช่วยสร้างสมดุลให้แก่สภาพแวดล้อม เช่น  เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ทำให้เกิดความชุ่มชื้นป้องกันการพังทลายของหน้าดิน บรรเทาความรุนแรงของลมพายุ เป็นต้น



ที่มา:https://goo.gl/ijUN24

    5.     สัตว์ป่า ทุกวันนี้นับวันสัตว์ป่าจะลดจำนวนลงและหมดหายไปในที่สุด ทั้งนี้เพราะฝีมือมนุษย์เรานั้นเอง  เราควรอนุรักษ์สัตว์ป่าเอาไว้  ทั้งนี้เพราะสัตว์ป่ามีความสำคัญในด้านการรักษาสภาพแวดล้อมให้มีความสมดุลด้านการศึกษาชีวิตและธรรมชาติของสัตว์ ด้านการท่องเที่ยวเพื่อดูสัตว์ป่าต่างๆ

ที่มา:https://goo.gl/56MjWr

ผลกระทบจากการทำลายธรรมชาติ

ผลกระทบจากการทำลายธรรมชาติ


          จากการที่ปริมาณป่าลดลงย่อมเกิดจากกรเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และมีผลต่อปัจจัยชีวภาพ มีผลกระทบต่อสภาพดิน น้ำ อากาศ สัตว์ป่า และสี่งแวดล้อมอื่นๆ เพราะทั้งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะมีความสัมพันธ์กันไม่ทางตรงก็ทางอ้อมในระบบนิเวศ การทำายป่าจึงก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ ดังนี้



1.เกิดการชะล้างพงทลายของดิน
ป่าที่ถูกทำลายจะทำให้ไม่มีต้นไม้ วัชพืช หญ้าปกคลุมดิน เมืาอฝนตกมาน้ำฝนจะกัดเซาะหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ไหลไปกับกระแสน้ำ

 

2.เกิดน้ำท่วมในฤดูฝน
บริเวณป่าที่ถูกทำลายหน้าดินไม่สามารถดูดซับน้ำฝนไว้ได้จึงทำให้น้ำไหลบ่าจากที่สุงอย่างรุนแรง และมีปริมาณมากทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ตอนล่างอย่างฉับพลัน

 

3.เกิดความแห้งแล้งในฤดูแล้ง
การทำลายป่าไม้ต้นน้ำลำธารทำให้เกิดการระเหยน้ำจากผิวดิน ดินเก้บและดูดซับน้ำได้น้อยจึงทำให้น้ำไหลลงสู่ลำธารน้อยจึงทำให้เกิดความแห้งแล้ง


 

4.เกิดปัญหาโลกร้อนขึ้น
เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งการหมุนเวียนของสาร ระหว่างออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำและสารอื่นๆในระบบนิเวศที่สำคัญ การทำลายป่ามีส่วนทำให้เกิดการสะสมของกาซ์คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น จึงเปนปัจจัยท่ทำให้อุณหภูมิของโลกสุงขึ้น

 

5.คุณภาพของน้ำเสื่อมลง
เมื่อฝนตกในบริเวณป่าไม้ที่ถูกทำลายก็จะพัดเอาดินโคลน ตะกอนลงสู่แหล่งน้ำทำให้น้ำขุ่น ส่งผลให้คุณภาพทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี ด้อยลง ไม่สามารถนำไปใช้ในการอุปโภค บริโภคได้

 

6.พืชและสัตว์ป่ามีจำนวนลดลง
ป่าไม้ซึ้งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ พืชและสตว์ป่า การตัดไม้ทำลายป่าจึงเปรียบเหมือนการทำหลายแหล่งที่อยู่อาศัยและอาหาร ทำให้สัตว์และพืชหลายชนิดมีจำนวนที่ลดลงจนเกือบจะสูญพันธ์หมด




ที่มา:http://goo.gl/6KXl1J

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ที่มาและความสำคัญ


ที่มาและความสำคัญ



ที่มา:https://goo.gl/fxaK0V

            ธรรมชาติ ในความหมายอย่างกว้างสุด เทียบเท่ากับโลกธรรมชาติ โลกกายภาพ หรือโลกวัตถุ ธรรมชาติหมายถึงปรากฏการณ์ของโลกกายภาพ และยังหมายถึงชีวิตโดยรวม มีขนาดตั้งแต่เล็กกว่าไปจนถึงจักรวาลคำว่า nature มาจากคำภาษาลาตินของคำภาษากริกphysis ซึ่งเดิมเกี่ยวข้องกับลักษณะภายในพืช สัตว์และลักษณะเฉพาะ(feature)อื่นของโลกพัฒนาแนว(accord)ของตน มโนทัศน์ธรรมชาติโดยรวม จักรวาลทางกายภาพ เป็นหนึ่งในหลายการต่อขยายของความคิดดั้งเดิม เริ่มต้นด้วยการประยุกต์ใช้แก่นบางอย่างโดยนักปรัชญายุคก่อนโสเครติส และได้รับความแพร่หลายอย่างต่อเนื่องนับจากนั้นการใช้นี้ได้รับการยืนยันระหว่างการมาถึงของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ในหลายศตวรรษหลังปัจจุบัน ธรรมชาติ มักหมายถึง ธรณีวิทยาและสัตว์ป่า ธรรมชาติอาจหมายถึงอาณาจักรของพืชและสัตว์หลายชนิดทั่วไป และในบางกรณีหมายถึง ขบวนการซึ้งเกี่ยวข้องกับวัตถุไร้ชีวิต คือ วิถีซึ้งสิ่งบางประเภทโดยเฉพาะดำรงและเปลี่ยนแปลงแนวของตนเอง เช่น ลมฟ้าอากาศและธรณีวิทยาของโลก และสสารและพลังงานอันประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งเหล่านี้ นอกจากนี้ยังใช้หมายถึง สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สัตว์ป่า หิน ป่า ชายหาด และโดยทั่วไปสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญโดยอันตรกิริยาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ยกเว้นถูกจัดเป็น ธรรมชาติมนุษย์ มโนทัศน์เก่ากว่าของสิ่งธรรมชาติซึ้งยังพบในปัจจุบันอยู่ ชี้ข้อแตกต่างระหว่างธรรมชาติกับสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น(artificial)โดยสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นจากความรู้สึกตัวหรือจิตของมนุษย์ ขึ้นอยู่กับบริบทเฉพาะ คำว่า ธรรมชาติ ยังอาจแตกต่างจากไม่เป็นธรรมชาติ เหนือธรรมชาติ หรือ สังเคราะห์

อ้างอิง

ความงามตามธรรมชาติ


ความงามตามธรรมชาติ


ความงามตามธรรมชาติของน้ำตก



ที่มา:https://goo.gl/vVLgAw

              น้ำตก หรือ โตน ในภาษาใต้ เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากลำน้ำไหลลงมาจากจุดที่สูงกว่า ทำให้เป็นลักษณะทัศนียภาพของน้ำตก น้ำตกที่พบได้ตามภูเขานั้น



ความงามตามธรรมชาติของต้นไม้





       ที่มา:https://goo.gl/dlWIqs

                   ต้นไม้เป็นส่วนประกอบสำคัญของภูมิประเทศตามธรรมชาติ เนื่องจากมันสามารถป้องกันภูมิประเทศจากกันกัดเซาะและเป็นส่วนสำคัญของการปรับภูมิทัศน์และการเกษตร 




ความงามตามธรรมชาติของดอกไม้
          


ที่มา:https://goo.gl/OgPy3Z

              ดอกไม้ นอกจากจะสวยงาม เป็นสีสันของโลกใบนี้ ดอกไม้ยังสร้างความสดชื่นให้แก่ผู้พบเห็นทั้งรูปทรง และความหอม นอกจากนี้แล้ว ดอกไม้ยังมีความหมายพิเศษๆ และ บอกลักษณะของดอกไม้นั้นได้โดยธรรมชาติ




ความงามตามธรรมชาติของภูเขา



ที่มา:https://goo.gl/ML93hm

             ภูเขา (mountain) เป็นลักษณะของพื้นโลกที่มีความสูงกว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบ  ภูเขา หรือเทือกเขาหมายถึง ลักษณะภูมิประเทศ ที่มีความสูงตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไปจากพื้นที่บริเวณรอบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเนินเขา แต่ว่าเนินเขานั้น จะมีพื้นที่สูงจากบริเวณรอบ ๆ ประมาณ 150 แต่ไม่เกิน 600 เมตร





ความงามตามธรรมชาติของสัตว์

              

ที่มา:https://goo.gl/LiqogQ

               สัตว์เป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่ง   หมายถึง สัตว์ที่มนุษย์มิได้เลี้ยงดูและมนุษย์มิได้เป็นเจ้าของ    สัตว์ป่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ในป่าซึ่งหมายถึง ป่าไม้ กล่าวได้ว่าป่าไม้ คือทุกสิ่งของสัตว์ป่า เป็นแหล่งอาหาร และ น้ำ เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบภัย เป็นที่สืบพันธุ์ขยายเผ่าพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหลายจะเลือกถิ่นที่อยู่ตามความเหมาะสมทางธรรมชาติป่าไม้จึงต้องมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีพื้นที่มากพอที่จะแบ่งให้สัตว์ต่างๆอาศัยอยู่ตามระบบนิเวศของตน  อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ประกอบขึ้นด้วยป่าไม้หลายชนิด เช่น ป่าสนเขา  ป่าดิบชื้น    ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ตลอดจน ป่าละเมาะ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติิแก่งกระจาน  จึงทำให้ป่าไม้แห่งนี้มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างมากมาย มีทั้งสัตว์อยู่ประจำถิ่นและสัตว์อพยพเข้ามาบางฤดูกาล



ความงามตามธรรมชาติของมนุษย์







ที่มา:http://fbsina.com/TqTtp

                 คนเรามักจะนึกถึงสี่งที่สวยงามก่อนเสมออาจเป็นเพราะว่าความงามนั้นเกิดจากการปรุงแต่งกลบภาพที่แท้จริงเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ความสวยงามนั้นเป็นอย่างไรสี่งที่ได้เห็นจึงเป็นเพียงภาพฉาบฉวยที่ฉาบฉายให้เห็นเพียงชั่วคราวหาได้เป็นความสวยงามที่แท้จริงไม่แม้คนนั้นจะสวยโดยธรรมชาติที่งดงามยิ่งกว่าการปรุงแต่งก็หาใช่ความสวยงามที่คงทนไม่ ความงามที่แท้จริงของมนุษย์คือจิตใจอันดีงาม ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในที่สำผัสได้ด้วยจืตวิญญาณ มิใช่การดูจากรูปร่างภายนอก



ความงามตามธรรมชาติของภาษา



ที่มา:https://goo.gl/H20alj


         คือ คุณสมบัติที่ทำให้  ผู้ได้เห็น  ได้ยิน  ได้สัมผัสเกิดความชื่นชมยินดี  ติดตรึงใจ เช่นความงามของธรรมชาติต่างๆ  ความงามของศิลปกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น งานจิตรกรรม  งานประติมากรรม  ส่วนงานวรรณกรรม คืองานที่กวีสร้างสรรค์ขึ้นโดยเลือกใช้ถ้อยคำที่ไพเราะเรียบเรียงเป็นบทร้อยแก้วหรือร้อยกรอง  ซึ่งสามารถสื่อความหมายให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการและอารมณ์คล้อยตาม